วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550  พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา   เมื่อวันที 18 พ.ศ.2550 มิถุนายนและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป

ทําไมต้องมี พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
เพราะคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวัน มีการใช้ คอมพิวเตอร์ โดยมิชอบส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น  มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือลามกอนาจารจึงต้องมีมาตรการควบคุม



    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสําคัญในการประกอบกิจการและการดํารงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทําด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทํางานตามคําสั่งที่กําหนดไว้หรือทําให้การทํางานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่กําหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ ดัดแปลงแก้ไข ลบหรือทําลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศจึงได้มีการตราพระบัญญัติว่าด้วยการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ขึ้น เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทําดังกล่าว
พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยสรุปเมื่อกระทําความผิดแล้วจะมีบทลงโทษดังนี้
 1. เข้าระบบคอมพิวเตอร์ที่เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่อนุญาตให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์
บทลงโทษจําคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 5)
2. แอบเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น และนําไปบอกผู้อื่นต่อ
 บทลงโทษจําคุกไม่หนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 6)
3. แอบเข้าไปล้วงข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
บทลงโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 7)
 4. แอบดักจับข้อมูลข้อมูลที่ผู้อื่นส่งให้กันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 บทลงโทษ จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 8)
5. แอบเข้าไปดัดแปลง แก้ไข ทําลายข้อมูลของผู้อื่นในระบบคอมพิวเตอร์
บทลงโทษ จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 9)
 6. ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทํางาน แต่ถ้ามีการปล่อย packet, message,
virus, trojan หรือ worm เป็นต้น เข้าไปก่อกวนจนระบบผู้อื่นเสียหาย
บทลงโทษ ....จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 10)                                                    
 7. ส่งข้อมูลหรืออีเมลให้ผู้อื่นโดยคนผู้นั้นไม่อยากรับ แต่ก็ยังมีการส่ง จนทําให้ผู้รับรําคาญ
บทลงโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (มาตรา 11)
8. ถ้ามีการทําผิด ในข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วทําให้เกิดความเสียหายร้ายแรง โดยเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดทันทีหรือในภายหลัง
บทลงโทษ จําคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น เข้าไปแก้ไข ทําลาย ก่อนกวน ระบบ
  สาธารณูปโภค หรือระบบจราจร ที่ควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์
บทลงโทษ จําคุกตั้งแต่ 3-15 ปี และปรับตั้งแต่ 6 หมื่นถึง 3 แสนบาท และหากการกระทําดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย บทลงโทษ จําคุกตั้งแต่ 10-20 ปี
 9.  ถ้าผู้ใดเขียนโปรแกรม หรือซอร์ฟแวร์ เพื่อให้ช่วยให้ผู้อื่นกระทําความผิดในข้อที่ 1-8
บทลงโทษ จําคุกไม่เกิน1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 13)
10. ถ้ามีการเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร ว่ากล่าวให้ร้ายผู้อื่น หรือท้าทายอํานาจรัฐ
 บทลงโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 14)
ขอบเขตการใช้งานระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ของสป.กษ. ผู้ใช้งานจะต้องไม่ใช้

ระบบเครือข่ายของสํานักงานโดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
 -เพื่อกระทําการผิดกฎหมายหรือเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
 -เพื่อกระทําการที่ขัดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
 -เพื่อกระทําการที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
 -เพื่อค้าขายส่วนตัว
 -เพื่อกระทําการอันมีลักษณะเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสํานักงานหรือของบุคคล
อื่น
 -เพื่อเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ที่มีสิทธิในข้อมูลดังกล่าว
-เพื่อรับหรือส่งข้อมูลซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสํานักงาน เช่น การส่งข้อมูลที่มีลักษณะ
เป็นการละเมิดต่อกฎหมายหรือสิทธิของบุคคลอื่น เป็นต้น
เพื่อขัดขวางหรือทําให้ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ การใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ
สํานักงานของเจ้าหน้าที่อื่น หรือของหน่วยงานภายนอกอื่น
เพื่อแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของสํานักงาน ไปยังที่
อยู่เว็บไซต์ใดๆ ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากความจริง
เพื่อกระทําการอื่นใดที่อาจขัดต่อผลประโยชน์ของสํานักงานหรืออาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง
หรือความเสียหายต่อสํานักงาน
ข้อกําหนดในการใช้งานอีเมล์ของ สป.กษ.
ห้ามใช้ที่อยู่ E-Mail (E-Mail Address) อื่นๆ นอกเหนือจากที่สํานักงาน
ได้จัดสรรไว้ให้เพื่อใช้ในการติดต่องานตามภารกิจหรือหน้าที่ความรับผิดชอบของตนกับ
หน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
ห้ามผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูล E-Mail ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ห้ามลงทะเบียนด้วยที่อยู่ E-Mail (E-Mail Address) ที่สํานักงานมอบให้
ไว้ตามที่อยู่เว็บไซต์ต่างๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับงานของสํานักงาน
ห้ามส่ง E-Mail ที่มีลักษณะเป็นจดหมายขยะ (Spam Mail)
ห้ามส่ง E-Mail ที่มีลักษณะเป็นจดหมายลูกโซ่ (Chain Letter)
ห้ามส่ง E-Mail ที่มีลักษณะเป็นการละเมิดต่อกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิของ
บุคคลอื่น
ห้ามส่ง E-Mail ที่มีโปรแกรมไม่ประสงค์ดีไปให้กับบุคคลอื่นโดยเจตนา
ห้ามปลอมแปลง E-Mail ของบุคคลอื่น
ห้ามรับหรือส่ง E-Mail แทนบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ห้ามใช้คําที่ไม่สุภาพในการส่ง E-Mail
ห้ามส่ง E-Mail ที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า 20 เมกกะไบต์ หรือตามขนาดที่สํานักงานระบุไว้
ห้ามส่ง E-Mail ที่มีข้อมูลความลับของสํานักงานเว้นเสียแต่ว่าจะใช้วิธีการที่มีความ
ปลอดภัยที่สํานักงานกําหนดไว้
ให้ใช้ความระมัดระวังในการระบุชื่อที่อยู่ E-Mail ของผู้รับให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการส่ง
ข้อมูลผิดพลาด
ให้ระบุชื่อของผู้ส่งใน E-Mail ทุกฉบับที่ส่งไป
ให้จํากัดกลุ่มผู้รับ E-Mail เท่าที่มีความจําเป็นต้องรับทราบในข้อมูลที่ส่งไปนั้น
ให้ทําการสํารองข้อมูล E-Mail ตามความจําเป็นอย่างสมํ่าเสมอ

ที่มา

www.tpa.or.th/.../read_this_book_topic.php?...


www.angthong.go.th/2554/images/law.../exp-com50.pdf


mycomputerlaw.in.th/.../cca-new-draft-20110607-compari...


ความหมาย ประเภท ลักษณะการทำงานของ Search engine

Search Engine
ความหมายของSearch Engine

Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดยกรอกข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมาย เพื่อให้เราเลือกข้อมูลตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ 


ประเภทของSearch Engine

Search Engine มี3ประเภท (ในวันที่ทำการศึกษาข้อมูลนี้และได้ทำการรวบรวมข้อมูล สรุปได้3 ประเภทหลัก) โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และ การจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกันด้วย  เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันนี่เองทำให้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน แต่ที่พอสรุปได้ก็มีเพียง3 ประเภทหลัก ๆ ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้


ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines

Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน

โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ
1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Serch Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots
ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com


 ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory

    Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งจะขอยกตัวอย่างดังนี้



    ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory

    1. ODP หรือ Dmoz ที่หลาย?ๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทย 
            (URL : http://www.dmoz.org )



    2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย                                             

          (URL : http://webindex.sanook.com )


    3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่างๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้



ประเภทที่ 3 Meta Search Engine

    Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ
    
    ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลาย?ๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.

    มาถึงตอนนี้หลาย ๆ ท่านที่เคยสงสัยว่า “Search Engine คืออะไร” คงได้หายสงสัยกันไปบ้างแล้วและเริ่มเข้าใจหลักการทำงานของ Search Engine กันมากขึ้น เพื่อจะได้เลือกใช้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการของเราในการค้นหาข่าวสารข้อมูล สำหรับบทความ “Search Engine คืออะไร” นี้หากขาดตกบกพร่องประการใด หรือ ไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนท่านสามารถติชม หรือ ให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ผ่าน Comments ของบทความชุดนี้เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงและแก้ไขให้ได้ข้อมูลที่ดีที่สุดและ เป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ที่ทำการค้นคว้างข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้งาน



ลักษณะการทำงานของ Search Engine  

ประกอบไปด้วย ๓ ส่วนหลัก ๆ คือ

๑. Spider หรือ Web Robot จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่เข้าสำรวจเว็บไซต์ต่างๆ แล้วดึงข้อมูลเหล่านั้นมาอัพเดทใส่ในรายการฐานข้อมูล ส่วนมาก Spider มักจะเข้าไปอัพเดทข้อมูลเป็นรายเดือน

๒. ฐานข้อมูล (Database) เป็นส่วนที่เก็บรายการเว็บไซต์ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับกับการเติบโตของเว็บไซต์ในปัจจุบัน การออกแบบฐานข้อมูลที่ดีก็เป็นส่วนสำคัญเพราะถ้าฐานข้อมูลออกแบบมาทำงานช้าก็ทำให้การรอผลนานและจะไม่ได้รับความนิยมไปในที่สุด

๓.โปรแกรม Search Engine มีหน้าที่รับคำหรือข้อความที่ผู้ใช้งานป้อนเข้ามา แล้วเข้าค้นหาตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จากนั้นก็จะรายงานผลเว็บไซต์ที่ค้นพบให้กับผู้ใช้ การสืบค้นด้วยวิธีนี้นอกจากจะต้องมีระบบการสืบค้นข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้ว การกลั่นกรองผลที่ได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของการสืบค้นข้อมูล

ดังนั้น  การเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่า ข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไร มีขอบข่ายกว้างขวางหรือแคบขนาดไหน แล้วจึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการ


วิธีการทำงานของ Search Engine

โดยทั่วไปเว็บไซต์ Search engines มีกระบวนการทำงาน (Sullivan, 2001) แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ

ใช้โปรแกรมรวบรวมเอกสารเว็บ (spider หรือ  crawler) สำรวจและอ่านหน้าเว็บจากโดเมนต่างๆ  และหากพบ links ก็จะทำการติดตาม links ภายใน site จนครบ ซึ่งจากการทำงานในลักษณะโยงใยนี้ จึงเป็นที่มาของคำว่า spider หรือ crawler จากนั้น spider จะนำข้อมูลเว็บดังกล่าวไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ Search Engine และ spider จะกลับไปตรวจสอบข้อมูลในเว็บนั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น ทุก 1 หรือ 2 เดือน เพื่อสำรวจความเปลี่ยนแปลง
จัดทำรายการดรรชนี  
ข้อมูลที่โปรแกรม spider พบจะถูกทำสำเนาและส่งมาจัดเก็บที่รายการดรรชนี (index  หรือ catalog) ตามบัญชีดรรชนีที่ (มนุษย์) กำหนดไว้
หากข้อมูลที่เว็บต้นฉบับมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในสมุดดรรชนีจะเปลี่ยนแปลงด้วย  
โปรแกรมสืบค้น (Search engine software)
จะเป็นโปรแกรมส่วนที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อเข้าใช้บริการ
จะทำหน้าที่ในการค้นคืนข้อมูลจากฐานข้อมูลของ search engine
จะเริ่มต้นการทำงานเมื่อผู้ใช้ป้อนคำค้น
โปรแกรมจะนำคำค้นของผู้ใช้ไปจับคู่กับดรรชนีในฐานข้อมูล
แล้วทำการดึงข้อมูล (เอกสารเว็บ) ที่ตรงกับคำค้นออกมา
และจัดลำดับผลการค้นตามระดับความเกี่ยวข้องที่โปรแกรมประเมินได้  
Search engine แต่ละตัวจะใช้ตรรกะที่แตกต่างกันไป
ตัวอย่างการสร้างเกณฑ์ในการกำหนดค่าน้ำหนักให้กับคำดรรชนีของ Search engine อาจจัดลำดับ  ดังนี้ (Bradley, 2002) 
1. จะให้ค่าน้ำหนักความเกี่ยวข้องกับคำค้นมากที่สุด (ตามที่มนุษย์ได้ตั้งค่าโปรแกรมไว้)
2. คำ หรือวลี ที่ปรากฏใน Meta tag elements (เป็นส่วนหนึ่งของการเขียนเอกสาร html)
3. คำ หรือวลี ที่ปรากฏใน Title tag (ปรากฏที่บรรทัดแรกของ Title bar)
4. คำ หรือวลี ที่ปรากฏใน Main heading และ Sub heading (ข้อความที่เป็นขนาดใหญ่  ขนาดรอง ในแต่ละ Web page)
5. จำนวนครั้งที่ คำ หรือวลี ปรากฏในส่วนเนื้อหาของเอกสาร
6. ความถี่ที่เว็บอื่นๆ เชื่อมโยงเข้ามา (มีการตรวจสอบโดยใช้โปรแกรม)




 ประโยชน์ของการค้นข้อมูลโดยใช้ search engine

           1. ค้นหาเว็บที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว
        2. สามารถค้นหาแบบเจาะลึกได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข่าว, MP3 และอื่นๆ อีกมากมาย
        3. สามารถค้นหาจากเว็บไซต์เฉพาะทาง ที่มีการจัดทำไว้ เช่น download.com เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลและซอร์ฟแวร์ เป็นต้น 
        4. มีความหลากหลายในการค้นหาข้อมูล
        5. รองรับการค้นหา ภาษาไทย

ที่มา


www.learners.in.th/blogs/posts/179405


home.kku.ac.th/hslib/412141/internet/search52.htm 


www.namonpit.ac.th/krutae/internet1/p4-6.htm


www.sa.ac.th/e-learning/search.../thai-search-engine.ht...



วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

อินเทอร์เน็ต พัฒนาการจากอดีตสู่ปัจจุบัน

อินเทอร์เน็ต  INTERNET

                    อินเทอร์เน็ต  (INTERNET ) มาจากคำว่า Interconnection  Network  หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยใช้โปรโตคอล (protocol)  เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร
                 
                    เครือข่ายคอมพิวเตอร์ : โปรโตคอล
ชุดของกฎหรือข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถรับ-ส่งข้อมูลระหว่างกันได้ถูกต้อง

                    ประวัติอินเทอร์เน็ต
                    อินเทอร์เน็ตพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1969  ในยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียด  ที่แข่งขันกันพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกสู่ห้วงอวกาศ  อเมริกาจึงเริ่มพัฒนาเครือข่ายสื่อสารทางทหาร  โดยออกแบบระบบให้เหมือนร่างแห่ที่กระจายไปทั่วให้มั่นใจว่าหากถูกถล่มด้วยระเบิดนิวเคลียร์  เครือข่ายก็จะไม่ถูกตัดขาด  ยังมีทางส่งข้อมูลอ้อมไปได้
                    เมื่อภาวะสงครามคลายลง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่มีความจำเป็นที่จะใช้เฉพาะเครือข่ายทางการทหารอีกต่อไป  เครือข่ายจึงขยายตัวออกไปสู่ธุรกิจด้านต่างๆ ทั่วโลก  มีการเชื่อมต่อนับพันล้านเครื่องในเวลาที่รวดเร็ว มีการเชื่อมต่อผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมอยู่เดิมมากขึ้นเป็นลำดับ  ผู้เชื่อมต่อต้านลงทุนอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมถึงจ่ายค่าสัมปทานจากรัฐผู้ให้บริการเชื่อมต่อเรียกว่า
ISP (Internet  service  povider)  เก็บค่าบริการต่างกันขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อ
                     ค.ศ. 1973  มีการเชื่อมโยงเครือข่ายอาร์พาเน็ต  กับมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่นๆ อีกหลายเครือข่ายทั้งในยุโรปและอเมริกา เช่น
NSFNET (National science  foundation network)
CSNET    (Computer  science network)
EUNET    (European unix network)

เกิดเป็นเครือข่ายในลักษณะ "เครือข่ายของเครือข่าย"


TCP/IP กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สื่อสารระหว่างกันโดยใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และ Internet Protocol (IP) รวมเรียกว่า TCP/IP ข้อมูลที่ส่งจะถูกตัดออกเป็นส่วนๆ เรียก packet แล้วจ่าหน้าไปยังผู้รับด้วยการกำหนด IP Address เช่น สมมติเราส่ง e-mail ไปหาใครสักคน e-mail ของเราจะถูกตัดออกเป็น packet ขนาดเล็กๆ หลายๆ อัน ซึ่งแต่ละอันจะจ่าหน้าถึงผู้รับเดียวกัน packets พวกนี้ก็จะวิ่งไปรวมกับ packets ของคนอื่นๆ ด้วย ทำให้ในสายของข้อมูล packets ของเราอาจจะไม่ได้เรียงติดกัน packets พวกนี้จะวิ่งผ่าน ชุมทาง (gateway) ต่างๆ โดยตัว gateway (อาจเรียก router) จะอ่านที่อยู่ที่จ่าหน้า แล้วจะบอกทิศทางที่ไปของแต่ละ packet ว่าจะวิ่งไปในทิศทางไหน packet ก็จะวิ่งไปตามทิศทางนั้น เมื่อไปถึง gateway ใหม่ก็จะถูกกำหนดเส้นทางให้วิ่งไปยัง gateway ใหม่ที่อยู่ถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง เช่นเราติดต่อกับเครื่องในอเมริกา อาจจะต้องผ่าน gateway ถึง 10 แห่ง เมื่อ packet วิ่งมาถึงปลายทางแล้ว เครื่องปลายทางก็จะเอา packets เหล่านั้นมาเก็บสะสมจนกว่าจะครบ จึงจะต่อกลับคืนให้เป็น e-mail   
         การที่ข้อมูลมีลักษณะเป็น packet ทำให้ในสายสื่อสารสามารถที่จะ ขนส่งข้อมูลโดยไม่ต้องจอง (occupies) สายไว้สายจึงสามารถใช้ร่วมกันกับข้อมูลที่ส่งจากเครื่องอื่นได้ ต่างจากโทรศัพท์ที่ขณะใช้งาน จะไม่มีใครใช้สายได้ ดังตัวอย่างในรูปข้าล่างนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ A และ C สื่อสารกันด้วย packet สีดำ ซึ่งใช้สายร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่ง packet ดังกล่าวอาจจะเป็นสัญญาณเสียง (เช่น Internet Phone) ซึ่งเมื่อ packet เดินทางมาถึงก็จะถูกจับมารวมกันให้เป็นเสียงของการพูดคุย ไม่เหมือนโทรศัพท์แบบปรกติ ที่ขณะใช้งานสาย จะไม่สามารถนำไปทำงานอื่น ๆ ได้อีก


           อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายของเครือข่าย (A network of network) 
สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้ออกมา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมาย ของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลได้ว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย




ข้อมูลผู้เขียนบล็อก


นางสาวศิริพร  วิสูงเร
ชื่อเล่น โบว์   ชื่อเฟส ศิริพร  วิสูงเร
เกิดวันที่ 1 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2535
ภูมิลำเนา 23/4 ตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
การศึกษา จบอนุบาลที่โรงเรียนดงพยุงสงเคราะห์  
              จบประถมศึกษาที่โรงเรียน ดงพยุงสงเคราะห์
              จบมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอนุกูลนารี
เบอร์โทร 0913701596