วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550  พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา   เมื่อวันที 18 พ.ศ.2550 มิถุนายนและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป

ทําไมต้องมี พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
เพราะคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวัน มีการใช้ คอมพิวเตอร์ โดยมิชอบส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น  มีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือลามกอนาจารจึงต้องมีมาตรการควบคุม



    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสําคัญในการประกอบกิจการและการดํารงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทําด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทํางานตามคําสั่งที่กําหนดไว้หรือทําให้การทํางานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่กําหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ ดัดแปลงแก้ไข ลบหรือทําลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศจึงได้มีการตราพระบัญญัติว่าด้วยการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ขึ้น เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทําดังกล่าว
พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยสรุปเมื่อกระทําความผิดแล้วจะมีบทลงโทษดังนี้
 1. เข้าระบบคอมพิวเตอร์ที่เจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่อนุญาตให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์
บทลงโทษจําคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 5)
2. แอบเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น และนําไปบอกผู้อื่นต่อ
 บทลงโทษจําคุกไม่หนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 6)
3. แอบเข้าไปล้วงข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
บทลงโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 7)
 4. แอบดักจับข้อมูลข้อมูลที่ผู้อื่นส่งให้กันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 บทลงโทษ จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 8)
5. แอบเข้าไปดัดแปลง แก้ไข ทําลายข้อมูลของผู้อื่นในระบบคอมพิวเตอร์
บทลงโทษ จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 9)
 6. ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทํางาน แต่ถ้ามีการปล่อย packet, message,
virus, trojan หรือ worm เป็นต้น เข้าไปก่อกวนจนระบบผู้อื่นเสียหาย
บทลงโทษ ....จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 10)                                                    
 7. ส่งข้อมูลหรืออีเมลให้ผู้อื่นโดยคนผู้นั้นไม่อยากรับ แต่ก็ยังมีการส่ง จนทําให้ผู้รับรําคาญ
บทลงโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท (มาตรา 11)
8. ถ้ามีการทําผิด ในข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วทําให้เกิดความเสียหายร้ายแรง โดยเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดทันทีหรือในภายหลัง
บทลงโทษ จําคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น เข้าไปแก้ไข ทําลาย ก่อนกวน ระบบ
  สาธารณูปโภค หรือระบบจราจร ที่ควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์
บทลงโทษ จําคุกตั้งแต่ 3-15 ปี และปรับตั้งแต่ 6 หมื่นถึง 3 แสนบาท และหากการกระทําดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย บทลงโทษ จําคุกตั้งแต่ 10-20 ปี
 9.  ถ้าผู้ใดเขียนโปรแกรม หรือซอร์ฟแวร์ เพื่อให้ช่วยให้ผู้อื่นกระทําความผิดในข้อที่ 1-8
บทลงโทษ จําคุกไม่เกิน1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 13)
10. ถ้ามีการเผยแพร่ภาพลามกอนาจาร ว่ากล่าวให้ร้ายผู้อื่น หรือท้าทายอํานาจรัฐ
 บทลงโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (มาตรา 14)
ขอบเขตการใช้งานระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ของสป.กษ. ผู้ใช้งานจะต้องไม่ใช้

ระบบเครือข่ายของสํานักงานโดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
 -เพื่อกระทําการผิดกฎหมายหรือเพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
 -เพื่อกระทําการที่ขัดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
 -เพื่อกระทําการที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
 -เพื่อค้าขายส่วนตัว
 -เพื่อกระทําการอันมีลักษณะเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสํานักงานหรือของบุคคล
อื่น
 -เพื่อเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ที่มีสิทธิในข้อมูลดังกล่าว
-เพื่อรับหรือส่งข้อมูลซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสํานักงาน เช่น การส่งข้อมูลที่มีลักษณะ
เป็นการละเมิดต่อกฎหมายหรือสิทธิของบุคคลอื่น เป็นต้น
เพื่อขัดขวางหรือทําให้ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ การใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ
สํานักงานของเจ้าหน้าที่อื่น หรือของหน่วยงานภายนอกอื่น
เพื่อแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของสํานักงาน ไปยังที่
อยู่เว็บไซต์ใดๆ ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากความจริง
เพื่อกระทําการอื่นใดที่อาจขัดต่อผลประโยชน์ของสํานักงานหรืออาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง
หรือความเสียหายต่อสํานักงาน
ข้อกําหนดในการใช้งานอีเมล์ของ สป.กษ.
ห้ามใช้ที่อยู่ E-Mail (E-Mail Address) อื่นๆ นอกเหนือจากที่สํานักงาน
ได้จัดสรรไว้ให้เพื่อใช้ในการติดต่องานตามภารกิจหรือหน้าที่ความรับผิดชอบของตนกับ
หน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
ห้ามผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูล E-Mail ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ห้ามลงทะเบียนด้วยที่อยู่ E-Mail (E-Mail Address) ที่สํานักงานมอบให้
ไว้ตามที่อยู่เว็บไซต์ต่างๆ ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับงานของสํานักงาน
ห้ามส่ง E-Mail ที่มีลักษณะเป็นจดหมายขยะ (Spam Mail)
ห้ามส่ง E-Mail ที่มีลักษณะเป็นจดหมายลูกโซ่ (Chain Letter)
ห้ามส่ง E-Mail ที่มีลักษณะเป็นการละเมิดต่อกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิของ
บุคคลอื่น
ห้ามส่ง E-Mail ที่มีโปรแกรมไม่ประสงค์ดีไปให้กับบุคคลอื่นโดยเจตนา
ห้ามปลอมแปลง E-Mail ของบุคคลอื่น
ห้ามรับหรือส่ง E-Mail แทนบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ห้ามใช้คําที่ไม่สุภาพในการส่ง E-Mail
ห้ามส่ง E-Mail ที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า 20 เมกกะไบต์ หรือตามขนาดที่สํานักงานระบุไว้
ห้ามส่ง E-Mail ที่มีข้อมูลความลับของสํานักงานเว้นเสียแต่ว่าจะใช้วิธีการที่มีความ
ปลอดภัยที่สํานักงานกําหนดไว้
ให้ใช้ความระมัดระวังในการระบุชื่อที่อยู่ E-Mail ของผู้รับให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการส่ง
ข้อมูลผิดพลาด
ให้ระบุชื่อของผู้ส่งใน E-Mail ทุกฉบับที่ส่งไป
ให้จํากัดกลุ่มผู้รับ E-Mail เท่าที่มีความจําเป็นต้องรับทราบในข้อมูลที่ส่งไปนั้น
ให้ทําการสํารองข้อมูล E-Mail ตามความจําเป็นอย่างสมํ่าเสมอ

ที่มา

www.tpa.or.th/.../read_this_book_topic.php?...


www.angthong.go.th/2554/images/law.../exp-com50.pdf


mycomputerlaw.in.th/.../cca-new-draft-20110607-compari...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น